|
|
|
เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ชุมชนเดิมบาง เกิดจากการที่กลุ่มชาวบ้านได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมสองฝั่ง
แม่น้ำท่าจีนเนื่องจากบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำท่าจีนเป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ มีที่ดินเหมาะสำหรับการเพาะปลูก การประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม และสะดวกในการคมนาคมการเดินทางไปมาในสมัยก่อน |
|
|
แต่เดิมนาม "เดิมบาง" มาจากคำว่า "เดิมนาง" เนื่องจากในสมัยมีผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อนางพิมสุลาไลย เป็นหญิงสาวที่มีเสน่ห์
และมีความสวยงามมาก ใครเห็นใครก็ชอบ ใครเห็นใครก็รัก นางได้อาศัยอยู่ในบางนี้(บ้านเดิมบางในปัจจุบัน) ครั้งหนึ่งนางพิมสุลาไลย
ได้ยินข่าวว่าพระมหากษัตริย์จะเสด็จขึ้นมา ณ บางนี้ นางได้ยินข่าวคราวนางจึงกลัว นางจึงออกเดินทางหลบหนีขึ้นไปอยู่ที่บ้านนางลือ
(เขตจังหวัดนครสรรค์)ครั้นเวลาต่อมานางได้ข่าวว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นไม่ได้เสด็จมา นางจึงได้เดินทางกลับมาบ้านเกิดของนาง
แต่พอนางกลับมาถึงนางหลบหนีขึ้นไปอาศัยอยู่ที่ยอดเขากำมะเชือด(เขากำมะเชียรในปัจจุบัน) นางตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญทานรักษาศีล
และทอผ้าด้วยใยบัว ประสงค์ที่จะทำบุญทำทานและสร้างกุศลผลบุญต่อไป ดังนั้น เมื่อนางพิมสุลไลยกลับจากบ้านนางลือแล้ว นางมิได้อาศัยอยู่ที่บ้านเดิมของนางเลย เพราะนางหลบหนีขึ้นไปยอดเขา
กำมะเชือดและดำเนินชีวิตตามวัตุประสงค์ดังกล่าวของนาง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกบางนี้หรือชุมชนนี้ว่า บ้านเดิมนางในเวลาต่อมา
และภายหลังจากนั้นมาอีกได้มีการเรียกชื่อจากบ้านเดิมนาง เปลี่ยนมาเป็น "บ้านเดิมบาง" จวบจนสมัยถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลเดิมบางตั้งอยู่ที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมบางนางบวช
ไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร สามารถเดินทางติดต่อได้โดย ถนนสุพรรณบุรี – ชัยนาท (ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
ตำบลเดิมบาง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 28,125 ไร่ |
|
|
|
|
   |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.ปากน้ำ |
อ.เดิมบางนางบวช |
จ.สุพรรณบุรี |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.เขาพระ
และเขต ทต.เขาพระ |
อ.เดิมบางนางบวช
อ.เดิมบางนางบวช |
จ.สุพรรณบุรี
จ.สุพรรณบุรี |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.โคกช้าง
และ ต.ยางนอน |
อ.เดิมบางนางบวช
อ.เดิมบางนางบวช |
จ.สุพรรณบุรี
จ.สุพรรณบุรี |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.หัวเขา |
อ.เดิมบางนางบวช |
จ.สุพรรณบุรี |
|
|
|
    |
|
|
   |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านกลางพื้นที่ตำบล มีถนนที่เป็นเส้นทางหลัก
ในการคมนาคม 2 เส้นทาง ขนานตามแนวแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ เป็นถนนลาดยางคันคลองชลประทาน
(2 เลน) สายท่าช้าง – หันคา ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นสู่ภาคเหนือของประเทศ (4 เลน) หมายเลข 340 สายสุพรรณบุรี – ชัยนาท |
|
|
สภาพบ้านเรือนจะปลูกอยู่หนาแน่น บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำ
ห่างออกไปจะเป็นพื้นที่ประกอบการเกษตรส่วนด้านริมสุดอาณาเขตของเทศบาลตำบลเดิมบางทางทิศตะวันออก
มีคลองระบายน้ำสุพรรณบุรี 2 เป็น เส้นแบ่งเขตพื้นที่ตำบลและด้านริมสุดอาณาเขตของเทศบาลตำบลเดิมบาง
ทางทิศตะวันตกก็จะมีบึงฉวากซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สวยงาม พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นเส้นแบ่งเขตพื้นที่
ตำบล ปัจจุบันจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับชลประทาน กรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้และ
จังหวัดชัยนาท ได้จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาส
ที่ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 เพื่อถวายเป็นราชสักการะ จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ
จังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
|
|
|
|
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเดิมบาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก
ส่วนอาชีพรองลงมาได้แก่ การค้าขาย รับจ้าง ทำการเกษตรด้านอื่น เช่น ทำสวน ทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ ประมง ฯลฯ |
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,896 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 3,228 คน |
คิดเป็นร้อยละ 46.81 |

 |
หญิง จำนวน 3,668 คน |
คิดเป็นร้อยละ 53.19 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,504 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 153.24 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
เดิมบาง |
460 |
539 |
999 |
392 |
|
 |
2 |
|
เดิมบาง |
407 |
461 |
868 |
324 |
 |
|
3 |
|
แหลมสะแก |
217 |
250 |
467 |
205 |
|
 |
4 |
|
ท่าเตียน |
424 |
534 |
958 |
299 |
 |
|
5 |
|
ท่าใหญ่ |
486 |
517 |
1,003 |
347 |
|
 |
6 |
|
กระเม็ง |
168 |
234 |
402 |
176 |
 |
|
7 |
|
บ้านหัวเกาะ |
อยู่ในเขตเทศบาลตำบลเขาพระ |
|
 |
8 |
|
หนองหล่ม |
304 |
332 |
636 |
249 |
 |
|
9 |
|
แหลมหว้า |
237 |
225 |
462 |
156 |
|
 |
10 |
|
คลองระแหง |
307 |
358 |
665 |
199 |
 |
|
11 |
|
ท่าเตียน |
218 |
218 |
436 |
157 |
|
 |
|
|
รวม |
3,228 |
3,668 |
6,896 |
2,504 |
 |
|
|
|
   |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|